Home » » ความโดดเด่นของมหาลัยอัล-อัซฮัร

ความโดดเด่นของมหาลัยอัล-อัซฮัร

Written By Unknown on วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553 | 05:22


จุดเด่นของอัล-อัซฮัร

ความ เก่าแก่ซึ่งมีอายุถึงหนึ่งพันกว่าปี ของมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร ทำให้เป็นจุดศูนย์กลางทางการศึกษาของคนมุสลิมทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัรจึงได้วางนโยบายและแบบแผนการศึกษาดังต่อไปนี้

1.เปิดรับสมัครนักศึกษามุสลิมที่ต้องการศึกษาในแต่ละสาขาวิชาการ และผู้ใฝ่ศึกษาในอิสลามอย่างจริงจัง

2.ปลูกฝังแนวความคิดอันถูกต้องในหมู่นักศึกษามุสลิม ยึดมั่นต่ออิสลามและเชิญชวนมนุษยชาติสู่สัจจะธรรม

3.พัฒนาปรับปรุงหลักสูตร และโปรแกรมการเรียนการสอน เพื่อเป็ฯการยกระดับด้านจิตสำนึกแห่งอิสลามและความเป็นชาตินิยมแก่นักศึกษาทุกคน

4.ผลิตนักวิชาการอิสลามและผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาต่างๆแก่ประเทศโลกอาหรับอิสลาม ภายใต้หลักความรู้และการศรัทธาที่ถูกต้อง

5.ส่ง เสริมให้มีการศึกษาระดับสูง ในสาขาต่างๆ และส่งนักศึกษาไปต่างประเทศเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่ๆนำมาเป็ฯประโยชน์ แก่ประเทศและโลกมุสลิม

6.สอดส่องดูแลกิจกรรมทางด้านวิชาการ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาทางด้านวิชาการด้วยการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง มหาวิทยาลัยทั่วโลกและหย่วยงานวิจัยเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะ


ด้านภาษาต่างประเทศและการแปล

ใน คณะอักษรศาสตร์และการแปลของมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร จะประกอบไปด้วย 9 สาขาด้วยกัน คือสาขาภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศษ เยอรมัน สเปน ตุรกี ฮิบรู เปอร์เซีย แอฟริกา และกลุ่มภาษายุโรป

ส่วนกลุ่มภาษายุโรปแบ่งออกเป็น 3 สาขา

1.วรรณคดี และอารยธรรม

2.การแปลภาษา

3.อิสลามศึกษา(ศึกษาศาสตร์)

ระยะ เวลาการเรียน 4 ปี นอกจากสาขาอิสลามศึกษาซึ่งต้องเรียนเตรียมพิเศษใช้เวลาหนึ่งปี นักศึกษาต้องเรียนคัมภีร์อัลกุรอาน อรรถาธิบายอัลกุรอาน พระวจนะศาสดา(ศ้อลฯ) และความรู้เกี่ยวกับอิสลามทั่วไปด้วยภาษาต่างประเทศ เป้าหมายเพื่อให้นักศึกษามีความถนัดเรื่องการใช้ภาษา เพื่อใช้ในการแนะแนวและเผยแพร่ในต่างประเทศ


การศึกษาของสตรีในมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร


มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัร เปิดทำการสอนแก่สตรีมุสลีมะห์ในปีคริสตศักราช1961ด้วยการสร้างวิทยาลัยสตรี ซึ่งมีอยู่หลายสาขาด้วยกัน เพื่อศ฿กษาทางด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ อิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ หลังจากนั้นได้ปรับสาขาเหล่านี้ไปเป็นคณะต่างหาก อาทิเช่น การผนวกคณะเภสัชกรรมและเศรษฐศาสตร์ไว้ในคณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับ และการผนวกคณะอิสลามศึกษาของวิทยาเขตจังหวัดอัซยูตและสาขาภาษายุโรปและการ แปลไว้ในคณะมนุษย์ศาสตร์ เช่นกันได้ก่อตั้งคณะทันตกรรมศาสตร์ที่ไคโรปี 1998/1999 และคณะมนุษย์ศาสตร์ ที่จังหวัดตาฟาฮ์นา และกีนาในปี 1999/2000


มาตรฐานการรับรองทางวิชาการ


มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัร ได้ประสาทปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศณียบัตรชั้นสูง และระดับปริญญาตรีในทุกๆสาขาวิชา ซึ่งรวมถีงโปรแกรมการศึกษาในแต่ละสาขาวิชาของคณะต่างๆดังต่อไปนี้

1.อนุปริญญาโท มีทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนสองปีหรือสี่เทอมของการศึกษา

2.ระดับปริญญาโท

3.ระดับปริญญาเอก


ระเบียบการสมัคร


1.ผู้ได้รับใบประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ของอัซฮัร โดย ยื่นใบสมัครผ่านพนักงานรับสมัครของมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร

2.ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรทางด้านการอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน โดยยื่นใบสมัครที่วิทยาลัยอัลกุรอาน ณ จังหวัดตอนตอ

3.ผู้ ที่ได้รับประกาศนียบัตรอนุปริญญาวิชาชีพครู อัล-อัซฮัร ทั้งชายและหญิงสมัครเรียนต่อที่คณะคุรุศาสตร์ได้แต่ต้องได้คะแนนร้อยละเจ็ด สิบคะแนนขึ้นไปจากคะแนนทั้งหมด

4.นักศึกษาสตรีที่ได้รับใบประกาศนีย บัตรมัธยมตอนปลายภาครัฐหรือเทียบเท่าสามารถสมัครเรียนได้ในสาขาภาษายุโรปและ การแปลภาษาที่คณะมนุษยศาสตร์ในไคโรเท่านั้น


นักศึกษาที่พิการทางด้านสายตาทั้งหญิงและชาย

มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัรเปิดรับสมัครเฉพาะคณะอักษรศาตร์ คณะศาสนศาสตร์ คณะนิติศาสตร์และกฏหมายสากในไคโร และวิทยาเขตต่างจังหวัด อาทิเช่น ดุมยาต กีนา อัซวาน ส่วนคณะคุรุศาสตร์ในไคโร เปิดรับสมัครสองสาขาด้วยกัน คือสาขาศึกษาศาสตร์ และสาขาอักษรศาสตร์เอกภาษาอาหรับ


นักศึกษาต่างชาติ


มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัรเปิดรับสมัครนักเรียนต่างชาติที่ได้รับประกาศนียบัตร มัธยมตอนปลายในเครืออัล-อัซฮัร หรือประกาศนียบัตรของสถาบันวิจัยอิสลามประเทศอียิปต์ และผู้ที่ได้ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายของภาครัฐหรือว่าเทียบเท่า


การวิจัยด้านวิชาการ


ทางมหาวิทยาลัย ให้ความสำคัญด้านวิจัยทางวิชาการเป็นอย่างมาก โดยจัดให้มีการค้นคว้าวิจัยและปฏิบัติการ ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติการ อยู่หลายคณะด้วยกัน โดยเน้นการค้นคว้าในเชิงปฏิบัติเพื่อเชื่อมประสานระหว่างมหาวิทยาลัยกับ ชุมชน ทางอัซฮัรมีศูนย์วิชาการสาขาต่างๆ และศูนย์วิจัย ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อศึกษาและค้นคว้าเฉพาะด้านในทุกแขนง เช่น ด้านการแพทย์ มนุษยศาสตร์ เกษตรกรรม อาทิเช่น ศูนย์วิจัยโรคหัวใจ ศูนย์ศึกษาภาษาสำหรับผู้ไม่เข้าใจในภาษาอาหรับ ศูนย์ศึกษาและวิจัยด้านสถิติและอื่นๆ ฯลฯ


ด้านสาธารณสุข

มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัรเปิดบริการด้านสาธารณสุขแก่นักศึกษา๕ณะครู และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยด้วยโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยเอง เช่น โรงพยาบาลฮุเซ็น โรงพยาบาลซะรออ์ โรงพยาบาลลาบุลซะรียะห์ และขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยกำลังก่อสร้างโรงพยาบาลอัล-อัซฮัร ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของอัซฮัรที่เมืองนัศร์ กรุงไคโร


หอสมุดมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร


มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัรเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา การค้นคว้า และการให้บริการสังคมโดยการสร้างหอสมุด เพื่อบริการนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ผู้ศึกษาปริญญาโท คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย
หอสมุดศูนย์กลาง มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัรประกอบไปด้วยหลายสาขา มีหนังสืออยู่ประมาณ 51016 เล่มทั้งภาษาอาหรับและภาษาต่างประเทศ และยังมีห้องสมุดที่รวบรวมวิทยานิพนธ์อยู่ 10110 เล่มในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ภาษาอาหรับและภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัรยังมีห้องสมุดประจำคณะอีก 50 แห่ง มีห้องสมุดประจำหอประชุมอิสลามมีห้องโกดังเก็บหนังสือเพื่อการแลกเปลี่ยน สิ่งพิมพ์เพ่อการแจกจ่ายของหอประชุมอิสลามมีหนังสือสำรองอยู่ประมาณ 31466 เล่ม


หอพักนักศึกษา

อัล-อัซ ฮัรมีเจตนารมย์ตั้งแต่แรกเริ่มในการดูแลอุปถัมภ์นักศึกษาต่างชาติ และถ่ายทอดความรู้ไปสู่ทั่วทุกมุมโลก โดยจัดเตรียมที่พักอาศัยและปัจจัยยังชีพ ถือได้ว่าอัล-อัซฮัรเป็นสถาบันแห่งแรกในโลกที่ริเริ่มการสร้างหอพักนักศึกษา สหรับรองรับนักศึกษาชาวอียิปต์เองและ นักศึกษามุสลิมจากทั่วโลก ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1972/1973 มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัรได้เปิดหอนักศึกษาสำหรับชาวอียิปต์ที่เมืองนัศร ไคโร จนถึงปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยมีหอพักศึกษาชายและหญิงทั้งในไคโรและวิทยาเขต ต่างจังหวัด นอกจากนั้นยังมีหอพักสตรีที่เตรียมไว้นอกอาณาเขต ซึ่งในหอพักนักศึกษาทางมหาวิทยาลัยได้เตรียมอำนวยความสะดวกต่างๆเช่นโรง อาหาร สนามกีฬาและโรงยิม ฯลฯ


กิจกรรมนักศึกษาทางด้านวิชาการ ศิลปะ และกีฬา

มหา วิทยาลัยอัล-อัซฮัรได้ให้ความสำคัญต่อการบริการสังคม ด้วยการเน้นแบบแผนกิจกรรมต่างๆดางด้านวิชาการ ศิลปะ และการกีฬา โดยจัดให้มีบุคลากรแต่ละด้านเป็นการพิเศษเช่น การแข่งขันทางวิชาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม ทางมหาวิยาลัยได้เปิดศูนย์ศิลปะ 2 อาคารด้วยกัน อาคารแรกชื่ออาคารมูฮัมมัด อับดฮ์ ที่เขตดัรรอซะห์ และอาคารที่สองคณะเกษตรศาสตร์ที่เมืองนัศร์ ไคโร นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงศิลปะกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น การแสดงดนตรีพื้นเมือง และงานเขียนต่างๆ


บุคคลสำคัญที่ผ่านการเจียระไนจากอัล-อัซฮัร


บุคคล สำคัญในประวัติศาสตร์ที่ผ่านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร ล้วนเป็นผู้นำทางด้านการเมืองและทางด้านนักคิดนักพัฒนาในประเทศอียิปต์ เช่น ชัยค์ อับดุลลอฮ์ อัซซัรกอวีย์ และมุฮัมมัด อัซ-ซาดาต ผุ้นำขับไล่การยึดครองฝรั่งเศษต่อประเทศอียิปต์ อะหมัดอารอบีย์ อิหม่ามมุฮัมมัด อับดุฮ์ สะอัด ซัคลูล และอีกหลายๆท่าน ที่มีบทบาทสำคัญในประเทศอียิปต์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

จากหนังสือ.."ไคโรสาร 48"
Share this article :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. Persatuan Usrah Ainshams Mesir Patani - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website
Proudly powered by Blogger